สงครามโลกครั้งที่ 2 และสภาวะหลังสงคราม





War II

(คลิก ชมภาพยนต์ชุด War II ประกอบ)




ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิเคราะห์ผลงานของมนุษยชาติที่นำไปสู่ความร่วมมือและความขัดแย้งตลอดจนแนวทางในการประสานประโยชน์เพื่อสันติภาพของโลก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสังเขปได้
2. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์บทบาทและความสำเร็จขององค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้

3. ผู้เรียนสามารถเล่าเหตุการณ์สำคัญๆของสงครามโลกครั้งที่ 2ได้อย่างถูกต้องและปราศจากอคติ
สงครามโลกครั้งที่ 2 และสภาวะหลังสงคราม1.สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) เป็นสงครามที่สร้างความหายนะแก่มนุษยชาติมากกว่าสงครามครั้งใด ๆ เนื่องด้วยความก้าวหน้าในการผลิตอาวุธร้ายแรงต่าง ๆ สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้1.1 ลัทธิจักรวรรดินิยม
1.2 ลัทธิชาตินิยม
1.3 ลัทธิขยายแสนยานุภาพทางทหาร หรือลัทธินิยมทางทหาร
1.4 ชาติมหาอำนาจแบ่งแยกเป็นสองฝ่าย
1.5 ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ

2. ลัทธิจักรวรรดินิยมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1918 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ชาติมหาอำนาจต่างๆ ยังคงแข่งขันขยายอิทธิพลเข้ายึดครองดินแดนในทวีปแอฟริกาใต้และเอเชีย เพื่อแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า ตามรูปแบบของลัทธิจักรวรรดินิยมล่าเมืองขึ้นในสมัยนั้นรวมทั้งการผนวกดินแดนในทวีปยุโรปด้วย ดังเช่น
2.1 ญี่ปุ่นยึดครองแมนจูเรียของจีน ค.ศ. 1918

2.2 อิตาลียึดครองเอธิโอเปีย ค.ศ. 1935
2.3 เยอรมันนีผนวกออสเตรีย ค.ศ. 1938
2.4 เยอรมันนีผนวกเซโกสโลวะเกีย ค.ศ. 1939
3.ลัทธิชาตินิยมลัทธิชาตินิยมเป็นสาเหตุสำคัญของสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยมีผู้นำประเทศมหาอำนาจต่างๆ พยายามปลุกกระแสลัทธชาตินิยม เพื่อสร้างชาติของตนให้ยิ่งใหญ่เหนือชาติอื่นๆ ดังเช่น

3.1 ลัทธิชาตินิยมของเยอรมัน รู้จักกันในนามของ ลัทธินาชี ภายใต้การนำของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันในสมัยนั้น
3.2 ลัทธิชาตินิยมของชาติอิตาลี เรียกว่า ลัทธิฟาสซิสต์ โดยการสนับสนุนของ
เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำอิตาลีในสมัยนั้น
3.3 ลัทธิชาตินิยมของญี่ปุ่น มุ่งสร้างญี่ปุ่นให้เป็นชาติผู้นำของชาวเอเชียโดยขยายอำนาจเข้าครอบครองดินแดนต่าง เรียกว่า สร้างวงศ์ไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพา
4. ลัทธินิยมทางทหารก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945) กลุ่มประเทศที่เป็นผู้นำปั่นกระแสลัทธิชาตินิยมในหมู่ประชาชน ได้แก่ เยอรมัน อิตาลี และ ญี่ปุ่น ได้แสดงออกถึงลัทธินิยม ทางทหารพร้อมกันไปด้วยเพื่อสร้างกองทัพของตนให้เข้มแข็งเป็นฐานรองรับที่ยิ่งใหญ่ของชาติตน ดังตัวอย่างเช่น
4.1 เยอรมันนีประกาศยกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อปี ค.ศ.1936 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ทำไว้ในฐานะชาติผู้แพ้ในสงครามโลกครั่งที่ 1 โดยเริ่มต้นเกณฑ์ทหาร ปรับปรุงกองทัพ และพัฒนาอาวุธที่ทันสมัย ทางฝ่ายญี่ปุ่น อิตาลี และชาติมหาอำนาจในยุโรปอื่น ได้แสดงออกถึงลัทธินิยม
4.2 การแข่งขันกันสะสมการพัฒนาอาวุธเพื่อสร้างแสนยานุภาพทางทหาร ส่งผลให้ชาติมหาอำน
าจต่างหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เกิดความตึงเครียดทางการเมืองและพร้อมที่จะเกิดสงครามได้ทุกเมื่อ

5 .ชาติมหาอำนาจแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายการก่อตัวของลัทธิชาตินิยมและลัทธินิยมทางทหาร ทำให้ชาติมหานาจในสมัยนั้นเกิดความวาดระแวงซึ่งกันและกัน จึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อให้ความช่วยเหลือทางทหารเมื่อถูกอีกฝ่ายหนึ่งคุกคามก่อนเกิดสงครามโลกครั่งที่ 2 ชาติมหาอำนาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
5.1 ฝ่ายอักษะ เป็นกลุ่มประเทศนิยมเผด็จการทางทหาร ได้แก่ เยอรมันนี อิตาลี และญี่ปุ่น ดำเนินนโยบายขยายอำนาจและผนวกดินแดนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสร้างความยิ่งใหญ่ให้ชาติของตน
5.2 ฝ่ายพันธมิตร เป็นกลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตยได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายประนีประนอมและรักษาสันติภาพ
6. ความอ่อนแอของสันติบาตชาติองค์การสันนิบาตชาติซึ่งจัดตั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อรักษาสันติภาพของโลกประสบความล้มเหลวในการปฎิบัติหน้าที่โดยสิ้นเชิงโดยไม่สามารถหยุดยั้งการรุกรานของชาติมหาอำนาจ เยอรมันนี อิตาลี และญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองดินแดนในภูมิภาคต่างๆได้โดยมีสาเหตุ ดังนี้
6.1 สันนิบาตชาติไม่มีกองทัพหรือกำลังทหารที่จะแก้ไขปัญหาข้อพิพาท
หรือระงับการรุกรานของชาติที่นิยมลัทธิเผด็จการทหาร
6.2 สหรัฐอเมริกาเป็นชาติมหาอำนาจของกลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตย
มีความเข้มแข็งทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และกำลังทหาร แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติจึงทำให้องค์กรฯนี้อ่อนแอ ขาดความน่าเชื่อถือและไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ที่จะทำให้ชาติสมาชิกเกิดความยำเกรง

7. ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อสหรัฐอเมริกาใช้ระเบิดปรมาณูโจมตีญี่ปุ่น ทำ
ทำให้ญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ต่อฝ่ายพันธมิตร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1945 รวมเวลา

ที่เกิดสงครามยาวนานถึง 6 ปี ความสูญเสียของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมากกว่า
สงครามโลกครั้งที่ 1 หลายเท่าสรุปได้ดังนี้
7.1 ด้านสังคม มีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 40
ล้านคน
7.2 ด้านเศรษฐกิจ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญเกิดจากการทุ่มเทงบ
ประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อผลิตอาวุธที่ทันสมัยและมีศักยภาพสูงของประเทศคู่สงครามทั้งสองฝ่าย เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินทิ้งระเบิด เรดาร์ตรวจจับเรือดำน้ำ จรวด และระเบิดปรมาณู เป็นต้น รวมมูลค่าทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
7.3 ด้านการเมือง ประเทศผู้แพ้ต้องยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขในสนธิสัญญาที่ฝ่ายชนะกำหนด เช่น จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ยอมเสียดินแดนและอาณานิคม ฯลฯ
ประเทศผู้นำของฝ่ายแพ้ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และรวมถึงประเทศในยุโรปที่ให้การสนับสนุน เช่น ออสเตรีย โรมาเนีย ฮังการี และฟินแลนด์ ต่างต้องสูญเสียดินแดน ซึ่งทำให้พรมแดนและอาณาเขตการปกครองต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

8. องค์การสหประชาชาติองค์การสหประชาชาติ(United Nations) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เพื่อรักษาสันติภาพของโลก และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชาติ เป็นต้น บทบาทหรือผลการปฏิบัติงานขององค์การสหประชาชาติ (UN)ที่ผ่านมา มีดังนี้
8.1 การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้ง หรือกรณีพิพาทที่เกิดจากปัญหาเชื้อชาติและดินแดน โดยสหประชาชาติแก้ไขโดยใช้วิธีเจรจาไกล่เกลี่ยหรือใช้กองกำลังทางทหาร เข้าจัดการ ซึ่งดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จ เช่น ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ค.ศ. 1953 และปัญหาอิรักยึดครองคูเวต(สงครามอ่าวเปอร์เซีย) ค.ศ. 1991 เป็นต้น
8.2 การลดอาวุธ สหประชาชาติจัดให้มีการเจรจาเพื่อลดและควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างชาติมหาอำนาจต่างๆ หลายครั้งเพื่อลดความตึงเครียดและ สร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่มนุษยชาติมีการทำสนธิสัญญาเพื่อกำจัดและควบคุมอาวุธขึ้นหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น
8.3 การพัฒนาเศรษฐกิจ มีการจัดตั้งองค์กรต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น ธนาคารโลก(IBRD) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) องค์การการค้าโลก (WTO) และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ(UNICEF) เป็นต้น
8.4 ด้านสิทธิมนุษยชน มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” เพื่อส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ทั่วโลก โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และเพศ และส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความปลอดภัยของประชาชน
8.5 ด้านกฎหมาย มีการจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกัน รักษาความยุติธรรมและผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก เช่น กฎหมายทางทะเล กฎหมายว่าด้วยแรงงานระหว่างประเทศ ฯลฯ รวมทั้งยังมี “ศาลโลก” ทำหน้าที่ตัดสินคดีพิพาทระหว่างประเทศอีกด้วย
8.6 ด้านความเป็นเอกราชของประเทศ หมายถึง ดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ เมื่อมีความพร้อมที่จะปกครองตนเองก็จะได้รับพิจารณาให้เป็นประเทศเอกราช ประเทศที่ได้รับเอกราชแล้ว ได้แก่ ปาปัว นิวกินี นาอูรู และโตโก เป็นต้น

เฉลยสอบหลังเรียน 15.ง 14.ก 13.ง 12.ก 11.ง 10.ข 9.ง 8.ก 7.ค 6.ง 5.ง 4.ค 3.ง 2.ง 1.ข
ที่มา : วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี http.//th.wikipedia.org.wiki
(วิทยา ปานะบุตร. 2543 : 102-105)


4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15 สิงหาคม 2552 เวลา 21:12

    VDO สงครามโลกครังที่2 กระตุกๆ ดูไม่รู้เรื่องครับ

    ตอบลบ
  2. มันเท่สุดๆเลยครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19 มีนาคม 2556 เวลา 04:12

    แล้วสหภาพโซเวียต ประเทศเกือบโดนเยอรมันนาซีเขมือบได้ แล้วทำการรุกกลับจากด้านตะวันออกจนสามารถยึดกรุงเบอร์ลินไล่ะครับ

    เหมือนยังขาดพระเอกตัวจริงไปนะครัับผม รบกวนตรวจสอบด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. ผม ชอบ เยอรมัน อะครับ ชอบ รถถัง ปืนแรง เกราะหนา

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น