ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศ

ความขัดแย้งและความร่วมมือประสานประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจถึงสาเหตุความขัดแย้งของมนุยชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงสาเหตุความขัดแย้งของมนุษยชาติได้
2.ผู้เรียนสามารถอธิบายสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้
3.ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธีได้
4.ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
เฉลยสอบก่อนเรียน 15.ค 14.ก 13.ข 12.ค 11.ค 10.ก 9.ก 8.ง 7.ข 6.ค 5.ข 4.ง 3.ก 2.ข 1.ค

ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
1. สาเหตุความขัดแย้งของมนุษยชาติในอดีต
ในอดีตมนุษยชาติมีปัญหาความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน ทั้งขัดแย้งทางความคิดและการกระทำ ซึ่งนำไปสู่การต่อสู้หรือทำสงครามทำลายล้างกัน โดยมีสาเหตุสรุปได้ดังนี้


1.1 ความขัดแย้งในสมัยโบราณ สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง คือ (1) แย่งชิงดินแดนและที่อยู่อาศัย
(2) แย่งชิงแหล่งน้ำและอาหาร
(3) แย่งชิงทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คน เพื่อนำมาใช้เป็นกำลังแรงงาน
(4) ความขัดแย้งในความเชื่อและศาสนา
(5) ความแตกต่างทางด้านอารยธรรม ระหว่างชนชาติใหญ่ที่เจริญ

รุ่งเรืองกับชนชาติอื่นๆที่ล้าหลังด้อยความเจริญ


1.2 ความขัดแย้งในสมัยใหม่ เมื่อชาติตะวันตกเริมเดินทางสำรวจทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความขัดแย้งระหว่างมนุษยชาติได้เพิ่มทวีขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยมรสาเหตุดังนี้(1) ความต้องการแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า
(2) ความต้องการสินค้าจากภูมิภาคอื่นๆ ของโลกที่ทวีปยุโรปยังไม่มี
(3) การเผยแพร่คริสต์ศาสนาในดินแดนที่ผู้คนนับถือศาสนาอื่นๆ
(4) ความต้องการสร้างชาติของตนให้ยิ่งใหญ่ตามแนวทางของลัทธิจักรวรรดินิยม
(5) ความเหนือกว่าด้านกำลังอาวุธและศักยภาพในการทำสงครามของชาติมหาอำนาจ
(6) ความเชื่อเรื่อง “ภาระของของผิวขาว” ถือว่าเป็นหน้าที่ของชนชาติตะวันตกซึ่งมีความเจริญอารยธรรมสูงกว่า จะต้องเข้าไปปกครองดินแดนที่ล้าหลังและช่วยพัฒนาประชาชนที่ด้อยความเจริญในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
2. สาเหตุความขัดแย้งของมนุษยชาติในยุคปัจจุบัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945) สิ้นสุดลง ความขัดแย้งของมนุษยชาติในสมัยปัจจุบันยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุสรุปได้ดังนี้
2.1 ความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม หมายถึง ความรู้สึกแตกแยกหรือรังเกียจเดียดฉันท์ซึ่งกันและกันทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา และศาสนา และรวมทั้งความแตกต่างทางด้านอารยธรรม ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งของมนุษย์ในปัจจุบันทั้งสิ้น
2.2 ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ
2.3 การแข่งขันด้านอาวุธ
2.4 ลัทธิชาตินิยม ( Nationalism)
2.5 ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนชาติต่างๆ
2.6 การต่อต้านบทบาทของชาติมหาอำนาจ

3. ความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ความขัดแย้งของมนุญชาติในสมัยปัจจุบันที่มีสาเหตุเกิดจากความแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรม มีดังนี้
3.1 ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ หรือที่เรียกว่า “ลัทธิเผ่าพันธุ์นิยม” (Ethnicism)เป็นความรู้สึกของผู้คนในประเทศหนึ่งที่ผูกพันกับเผ่าพันธุ์เดิมของตน เกิดความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดนเพื่อตั้งเป็นประเทศเอกราชใหม่และเป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะเผ่าพันธุ์ของตนดังตัวอย่าง
(1) ชาวโครแอต (Croat) ก่อตั้งประเทศโครเอเชีย ( Republic or Croatia) โดยแยกตัวออกจากสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย เมื่อปี ค.ศ.1991
(2) ชาวสโลวัก ( Slovak) แยกตัวออกจากประเทศเชคโกสโลวาเกีย ก่อตั้งเป็นประเทศเอกราชใหม่ในนาม สาธารณรัฐสโลวัก ( Slovak Republic) เมื่อปี ค.ศ.1993
3.2 ความขัดแย้งทางด้านศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่าชาวฮินดูกับชาวมุสลิมในอินเดียหรือความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาเดียวกันแต่เป็นคนละนิกาย เช่น ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ ( Sunni) กับนิกายชีอะห์ ( Shi’a) ในประเทศอิรัก เป็นต้น
3.3 ความแตกต่างทางด้านอารยธรรม ทำให้มนุษย์เกิดความไม่เข้าใจกันและกลายเป็นสาเหตุความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ อารยธรรมที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน เช่น อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมจีน อารยธรรมฮินดู และอารยธรรมของโลกอิสลาม เป็นต้น

4. ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ ความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ กลายเป็นสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งในหมู่มนุษยชาติ ดังนี้
4.1 อุดมการณ์ทางการเมือง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โลกมีความแตกต่างและความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างชาติ
มหาอำนาจ 2 ค่าย ดังนี้
(1) ค่ายประชาธิปไตย มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
(2) ค่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ
ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองและการแข่งขันกันแผ่ขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจทั้งสองค่ายในภูมิภาคต่างๆ ของโลกดังกล่าว ทำให้โลกเข้าสู่ภาวะ “สงครามเย็น” ( Cold War) ในช่วงปี ค.ศ.1945-1991 ซึ่งได้สิ้นสุดลงพร้อมๆกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
4.2 ระบบเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆในโลกมีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญจำแนกได้ 3 ระบบใหญ่ๆ ดังนี้
(1) ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งรู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) และระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด (Market Economic System) โดยให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐจะไม่เข้าแทรกแซงหรือแทรกแซงแต่น้อย
(2) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialistic Economic System) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planning System) โดยรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆ และเป็นผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญเสียเอง เช่น การธนาคาร การอุตสาหกรรม การสื่อสารและโทรคมนาคม และการสาธารณูปโภคอื่นๆ
(3) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economic System) มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบสังคมนิยม โดยเอกชนยังคงมีเสรีภาพในการผลิตแต่รัฐจะผูกขาดดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญบางอย่าง เช่น ไฟฟ้า ประปา การคมนาคม และสาธารณูปโภคอื่น

5. การแข่งขันด้านอาวุธการแข่งขันสะสมอาวุธร้ายแรงระหว่างชาติต่างๆ กลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ ดังนี้ 5.1 การแข่งขันกันผลิตและสะสมอาวุธร้ายแรงของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นสาเหตุทำให้ประเทศในภูมิภาคเดียวกันเกิดความหวาดระแวง และเร่งดำเนินการผลิตเพื่อเตรียมป้องกันตนเองทำให้เกิดการแข่งขันเป็นวัฏจักรการสะสมอาวุธระหว่างประเทศขึ้น
5.2 ประเทศที่มีการสะสมขีปนาวุธร้ายแรง (นิวเคลียร์)ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งและความหวาดระแวงระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันหรือคู่กรณีที่เคยมีปัญหาความขัดแย้งกันมาก่อน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน จีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน เป็นต้น

6. ลัทธิชาตินิยม6.1 ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) คือ ความจงรักภักดีต่อชาติของตนสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดคิดว่าชาติของตนมีความสำคัญเหนือกว่าครอบครัว ท้องถิ่น หรือประชาชาติอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศและกลายเป็นสงครามประหัตถ์ประหารกันได้
6.2 แนวความคิดชาตินิยมในทวีปเอเชียและแอฟริกา เริ่มปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อญี่ปุ่นทำสงครามรบชนะรัสเซีย ในปี พ.ศ.1905 กระตุ้นให้ชาติเล็ก ๆ เชื่อว่าจะสามารถเอาชนะประเทศยุโรปได้
6.3 พลังชาตินิยมปรากฏชัดเจนภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 เป็นต้นไป) เมื่อขบวนการชาตินิยมได้ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจนประสบผลสำเร็จ ทำให้ประเทศของตนหลุดพ้นจากสภาพดินแดนอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก

7. ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนชาติต่าง ๆ7.1 ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกันในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกที่เคยมีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ถึงขั้นทำสงครามหรือรุกรานกัน ความรู้สึกบาดหมางไม่เป็นมิตรต่อกันย่อมยังคงมีอยู่ และอาจเป็นชนวนสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นใหม่ได้
7.2 ตัวอย่างของประเทศที่เคยมีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์มาก่อน เช่น กรณีความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น หรือจีนกับเกาหลีใต้ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 หรือกรณีอิสราเอลกับปาเลสไตน์ เป็นต้น

8. การต่อต้านบทบาทของชาติมหาอำนาจ8.1 บทบาทของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประเทศหรือกลุ่มองค์กรทางการเมืองอื่น ๆ โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลเข้าแทรกแซงประเทศอาหรับในตะวันออกกลางในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งความขัดแย้งทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้เกิดความคิดต่อต้านสหรัฐอเมริกาและอารยธรรมตะวันตก ซึ่งกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงในเวลาต่อมา
8.2 ลัทธิก่อการร้าย (Terrorism) เป็นปฏิกิริยาต่อต้านบทบาทของสหรัฐอเมริกาและอารยธรรมของโลกตะวันตก เช่น ขบวนการอัล เคดา หรืออัล กออิดะห์ (Al Qa’ida) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้ปฏิบัติการจึ้เครื่องบินโดยสารไปชนตึกเวิร์ดเทรด (World Trade Center) นครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา ในเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 แสดงถึงผลร้ายของความขัดแย้งระหว่างมนุษยชาติ

เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความขัดแย้งของมนุษย์9. ความขัดแย้งทางความคิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความขัดแย้งทางความคิดระหว่างมนุษย์ด้วยกัน คือ กรณีนักปรัชญาชาวกรีกที่ชื่อ “โซกราตีส” (Socrates) ในยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ มีระบบความคิดที่ไม่เหมือนใคร โดยปฏิเสธความเชื่อแบบดั้งเดิมจนถูกผู้ปกครงตัดสินลงโทษประหารชีวิต สรุปได้ ดังนี้
9.1 ไม่ยอมรับวิธีการปกครองของนครเอเธนส์ วิธีการเลือกผู้ปกครองที่ได้คนไม่มีความสามารถ และการทำหน้าที่ที่หย่อนประสิทธิภาพของสมาชิกรัฐสภาในขณะนั้น
9.2 ไม่เห็นด้วยกับวิธีสอนแบบท่องจำ แต่ใช้วิธีสอนแบบตั้งคำถามให้เด็กคิดเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งต่อมาวิธีสอนแบบถาม – ตอบของโซกราตีส ได้รับการยอมรับจากนักศึกษาในสมัยปัจจุบันว่าเป็นวิธีการสอนที่ดีแบบหนึ่ง เรียกว่า “วิธีการสอนแบบโซกราตีส”
9.3 ปฏิเสธเทพเจ้าของกรีก ซึ่งทำให้โซกราตีสถูกต่อต้านอย่างมาก

10. ความขัดแย้งทางศาสนาเหตุการณ์ความขัดแย้งทางศาสนาในประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ ความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลามในสมัยโบราณ ที่เรียกว่า “สงครามครูเสด” (Crusade) มีสาเหตุเกิดจากฝ่ายคริสต์ต้องการยึดปาเลสไตน์ (Palestine) ดินแดนอันศักดิ์สิทธ์จากฝ่ายมุสลิมกลับคืนมา เพราะเป็นสถานที่ที่พระเยซูประสูติและเผยแพร่คำสั่งสอน สงครามครูเสดครั้งใหญ่เกิดขึ้น 3 ครั้ง ดังนี้
10.1 สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ.1096-1099) กองทัพชาวคริสต์มาจากเยอรมนี ฝรั่งเศสและอิตาลี สามารถยึดครองกรุงเยรูซาเล็มจากฝ่ายอิสลามได้
10.2 สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (ค.ศ.1147-1149) กองทัพของกษัตริย์ฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถเอาชนะพวกเติร์กที่ยึดครองกรุงเยรูซาเล็มได้
10.3 สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ.1189-1192) ผลของสงครามศาสนาครั้งนี้มีผู้คนทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตจำนวนมากหลายแสนคน กองทัพชาวคริสต์นำโดยกษัตริย์อังกฤษ ฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประสบความล้มเหลวต้องถอยทัพกลับไป โดยไม่สามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาได้

11. ความขัดแย้งทางอารยธรรม11.1 ความขัดแย้งทางอารยธรรมในประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เกิดจากชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมถือว่าอารยธรรมของตนสูงกว่าชนชาติอื่น ๆ และดูหมิ่นชาติที่ล้าหลังด้อยความเจริญว่าเป็นพวกป่าเถื่อน เช่น จีนในสมัยโบราณถือว่าตนเป็น “อาณาจักรกลาง” (หรือจงกว๋อ) ของโลก
11.2 เหตุการณ์ความขัดแย้งทางอารยธรรมในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ คือ สงครามฝิ่น (ค.ศ.1839-1842) ระหว่างอังกฤษกับจีน โดยพ่อค้าอังกฤษลักลอบนำฝิ่นเข้ามาขายในจีนจึงถูกทางการจีนปราบปรามและขยายตัวเป็นสงคราม จีนเป็นฝ่ายแพ้ สงครามฝิ่นจึงเป็นตัวอย่างของความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับอารยธรรมตะวันออก กล่าวคือ
(1) ฝ่ายจีนต้องการให้อังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายในฐานะ “รัฐบรรณาการ” คือ ยอมอ่อนน้อม และนำเครื่องบรรณาการมาถวายพระจักรพรรดิจีน (ระบบจิ้มก้อง)
(2) การเข้าเฝ้าจักรพรรดิจีนต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมจีน คือ คุกเข่าและคำนับให้หน้าผากจรดพื้น แต่ทูตอังกฤษถือว่าชาติตนมีอารยธรรมสูงกว่าจึงไม่ยอมทำตาม จีนจึงไม่ยอมเจรจาด้วย

12. ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์
การแย่งชิงผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าเป็นสาเหตุประการหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
12.1 การแย่งชิงเส้นทางเดินเรือสู่หมู่เกาะอินเดียตะวันออก (East Indies) ระหว่างโปรตุเกสกับสเปนใน คริสต์ศตวรรษที่ 15 เพื่อแสวงหาแหล่งเครื่องเทศในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (ในปัจจุบันคือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสอง
12.2 สงครามฝิ่น (ค.ศ.1839-1842) ระหว่างอังกฤษกับจีน มีสาเหตุจากความขัดแย้งทางด้านอารยธรรมและความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางการค้าควบคู่กัน เนื่องจากอังกฤษเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับจีน จึงทดแทนด้วยการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาขายให้คนจีนสูบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทางการจีนปราบปรามทำให้ความขัดแย้งขยายตัวเป็นสงคราม ในที่สุดจีนเป็นฝ่ายปราชัยต้องทำสัญญาเสียเปรียบอังกฤษเพิ่มขึ้น

13. ความขัดแย้งทางอุดมการณ์
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีสาเหตุเกิดจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ มีดังนี้
13.1 ความขัดแย้งที่เกิดจากอุดมการณ์ประชาธิปไตย ได้แก่ การปฏิบัติเพื่อเอกราชของสหรัฐอเมริกา
ค.ศ.1776 การปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ค.ศ. 1991
13.2 ความขัดแย้งที่เกิดจากอุดมการณ์สังคมนิยม เช่น การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 และการปฏิวัติในจีน
ค.ศ.1949 ซึ่งนำประเทศทั้งสองเข้าสู่ระบอบการปกครองสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์

ความร่วมมือแก้ไขความขัดแย้ง
14. ประเภทของความร่วมมือความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของมนุษยชาติ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้14.1 ความร่วมเมืองทางการเมือง เช่น องค์การอาเซียน (ASEAN) ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกพัฒนาระบอบการเมืองภายในของตนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ดังกรณีของประเทศพม่าที่ถูกนานาชาติกดดันให้ปลดปล่อยนางอองซาน ซูจี ผู้นำต่อต้านการปกครองเผด็จการในพม่าให้เป็นอิสระ
14.2 ความร่วมมือทางการทหาร เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (หรือ NATO) เพื่อความร่วมมือทางด้านการทหารและความมั่นคงร่วมกันระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ในปัจจุบันมีชาติสมาชิก 19 ประเทศ
14.3 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มีลักษณะเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเขตการค้าเสรี (Free Tread Area : FTA) เช่น สหภาพยุโรป (EU), นาฟตา (NAFTA) และ อาฟตา (AFTA) เป็นต้น
14.4 ความร่วมมือทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่น ๆ เช่น องค์การยูเนสโก (UNESCO) หรือองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยูนิเซฟ (UNICEF) หรือกองทุนเด็กแห่งประชาชาติ เป็นต้น
15. แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศมี 2 ลักษณะ ดังนี้
15.1 การสร้างความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ (Positive)
15.2 การสร้างความร่วมมือที่ไม่สร้างสรรค์ (Negative)
16. การสร้างความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์การสร้างความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ (Positive) เป็นแนวทางโดยสันติวิธีและเกิดผลอย่างยืนยาว มีดังนี้
16.1 การจัดตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น
16.2 การจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศ หรือข้อตกลงร่วมกัน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กฎหมายอาชญากรสงคราม และข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น
16.3 การทูต มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขั้นปกติระหว่างกัน มีสถานเอกอัคราชทูตและเอกอัครราชทูตทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศ เพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือและความเข้าใจอันดีต่อกัน
16.4 การควบคุมและลดกำลังอาวุธ มีการเจรจาจำกัดการสะสมหรือการทดลองขีปนาวุธต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความหวาดระแวงต่อกัน
16.5 ความร่วมมือทางด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic) การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และการแข่งขันทักษะช่างฝีมือต่างๆ เป็นต้น

17. การสร้างความร่วมมือที่ไม่สร้างสรรค์
การสร้างความร่วมมือที่ไม่สร้างสรรค์ (Negative) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่ไม่ใช้แนวทางสันติวิธี แต่เป็นลักษณะการต่อต้านและใช้กำลัง หรือไม่ติดต่อคบค้าด้วย (Boycott)

17.1 กรณีสหรัฐอเมริการ่วมมือกับชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ อิตาลี ฯลฯ ใช้กำลังทางทหารเข้าแทรกแซงในอิรัก เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) เมื่อปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546) โดยอ้างว่าผู้นำอิรักสนับสนุนการผลิตขีปนาวุธที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลก

17.2 การใช้กำลังทางทหารเข้าบังคับ หรือการทำสงคราม มี 2 ระดับ คือ
(1) สงครามจำกัดขอบเขต (Limite War) โดยใช้กำลังทางทหารเข้าปฏิบัติการในระยะเวลาและพื้นที่อันจำกัด เพื่อมิให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหายมากนัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามปฏิบัติตามนโยบายของตนเท่านั้น เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ก็ถอนตัวกลับ เช่น สงครามขับไล่อิรักออกจากการยึดครองคูเวตของกองกำลังสหประชาชาติ (UN) โดยการนำของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1990
(2) สงครามเบ็ดเสร็จ (Absolute War) เป็นสงครามที่ประเทศมหาอำนาจใช้กำลังทางทหารเข้ายึดและครอบครองดินแดนแห่งนั้นไว้ตลอดไป โดยเข้าไปจัดระเบียบการปกครองใหม่ตามความต้องการของตน และตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและอื่น ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ในช่วงการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษ์ที่ 19-20 เป็นต้น





องค์กรความร่วมมือเพื่อประชาชนผลประโยชน์ของมนุษยชาติ

เหตุการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ ทั้งในด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ การทหาร รวมไปถึงวัฒนธรรม ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียและความทุกข์แก่มนุษยชาติโดยรวม ประชาชาติต่าง ๆ ต่าง ๆ จึงได้พยายามแสวงหาหลักประกันเกี่ยวกับสันติภาพและความปลอดภัย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จึงทำให้เกิดการสร้างองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อทำให้ความเข้าใจถึงแนวทางการแสวงหาสันติภาพ และลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโลก ดังสรุปได้ดังนี้


1. องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)

- เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

- มีข้อกำหนดให้สมาชิกสันนิบาตชาติทุกประเทศต่อต้านการรุกรานจากภายนอก

- กำหนดบทลงโทษผู้รุกรานว่า“ประเทศสมาชิกสันนิบาตชาติจะร่วมมือกันใช้วิธีการลงโทษทางเศรษฐกิจการเงินและการทหารในการต่อต้านผู้รุกราน”องค์การสันนิบาตชาติยุบบทบาทลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

2. ขบวนการรณรงค์เพื่อลดอาวุธนิวเคลียร์ (Campaign for Nuclear Disarmament – CND)

- ในระยะแรกมีการเคลื่อนไหวเฉพาะในอังกฤษ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกและเสริมสร้างอาวุธนิวเคลียร์

3. องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (The North Atlantic Treaty Organization – NATO)

- เป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศในยุโรปตะวันตก

- มีจุดมุ่งหมายร่วมกันทางทหารและป้องกันการขยายตัวของคอมมิวนิสต์

4. องค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN)

- เป็นการรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ ในระดับโลก

- จัดตั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

- ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 1946 โดยเป็นสมาชิกอันดับที่ 54

- จุดประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประชาชาติเพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

5. สันนิบาตอาหรับ (League of Arab States – The Arab League)

- จัดตั้งขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1945 - กลุ่มประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

- จุดมุ่งหมายของการก่อตั้งสันนิบาตอาหรับเพื่อความร่วมมือด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การคมนาคม และการเป็นสื่อกลางเพื่อขจัดข้อขัดแย้งในโลกอาหรับ

6. องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (The Palestine Liberation Organization – PLO)

- ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1954

- องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินนโยบายทางการเมืองและการทหาร

7. สหภาพยุโรปหรืออียู (European Union – EU)

- สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการทำสนธิสัญญามาสทริชต์ (Treaty of Masatricht)

- หลักการสำคัญ 3 ประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ถูกระบุไว้ในสนธิสัญญามีดังนี้

1. ประชาคมยุโรปประกอบด้วยการเป็นตลาดเดียวการมีนโยบายร่วมในด้านการค้าการเกษตร พลังงาน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีธนาคารกลางยุโรปและมีการใช้เงินสกุลเดียวหรือเงินยูโร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002

2. นโยบายร่วมด้วยกระบวนการบุติธรรมและกิจกรรมภายใน

3. ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน

8. องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries - OPEC) ประเทศผู้เริ่มการก่อตั้งองค์การโอเปก ได้แก่ ประเทศอิรักวัตถุประสงค์สำคัญขององค์การโอเปก เพื่อต้องการลดหรือขจัดอิทธิพลของบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนเจาะน้ำมันดิบในกลุ่มประเทศโอเปกในราคาถูก นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสามารถควบคุมและกำหนดราคาน้ำมันได้

9. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia Nations – ASEAN)

- สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งเป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967

- สมาคมอาเซียนมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม วิชาการ เป็นต้น

10. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิก (Asia – Pacific Economic Cooperation – APEC)

- เอเปกเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก

- เอเปกมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเรื่องป้องกันสิทธิประโยชน์ที่มีสมาชิกเอเปกที่ให้แก่กัน และให้ผลประโยชน์แก่กลุ่มที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปกด้วย

- หลักการสำคัญของเอเปกจะเป็นเวทีเพื่อความร่วมมือกันหารืออย่างตรงไปตรงมา และเป็นไปด้วยความสมัครใจ

11. องค์การค้าโลก (World Trade Organization – WTO)

- ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจและกีดกันทางการค้า ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มภาคีสมาชิกเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาการกีดกันทางการค้า เพื่อทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยการกำหนดภาษีศุลกากรและการค้า

- ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกลำดับที่ 59องค์การการค้าโลกตั้งขึ้นเพื่อเปิดโลกเสรีการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามความพร้อมของสมาชิกประเทศสมาชิกมีสิทธิและข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ข้อตกลงต่าง ๆ ขององค์การการค้าโลก ซึ่งช่วยส่งเสริมให้การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรม






เฉลยทดสอบหลังเรียน 15.ก 14.ง 13.ง 12.ค 11.ข 10.ง 9.ง 8.ก 7.ง 6.ข 5.ง 4.ก 3.ข 2.ก 1.ก
ที่มา : วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี http.//th.wikipedia.org.wiki

(วิทยา ปานะบุตร. 2550 : 86-93)

10 ความคิดเห็น:

  1. ค้นคว้าทำรายงานเนื้อหาครบถ้วนเลย ขอบคุณครับคุณครู มีหนังด้วย
    ทำบทเรียนสาระการเรียนรู้อื่นๆบ้างซิขอครับ ผมชอบ ทำงานเพลินดี

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเยอะเเละครบถ้วนดีค่ะ อ่านจนตาลายเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ดูหนังสอดคล้อมกับเนื้อหาดีค่ะ เข้าใจดีค่ะ ขอบคุณค่ะ อยากให้วิชาอื่นๆ ทำเว็ปสอนแบบอาจารย์จังเลย

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ15 สิงหาคม 2552 เวลา 21:00

    อยากให้อาจารย์ออกข้อสอบให้ทำมากๆค่ะ
    6/1 ค่ะ

    ตอบลบ
  5. อาจารย์ครับผมได้รับความรุู้้และทำรายงานส่งอาจารย์จากเนื้อหาความขัดแย้งระหว่างประเทศจากการค้นหาโดย Google ผมเข้าไปเจอเว็บไซ้ต์ของอาจารย์ ผมเป็นศิษย์เก่าครับ รุ่น 2550 อาจารย์เคยสอนผมผมชอบวิชาของอาจารย์มาก อาจารย์สอนสนุกไม่น่าเบื่อ เว็บนี้เป็นของอาจารย์เองใช่ไหมครับ เนื่้อหาเยอะดี เข้ามาครั้งเดียวทำงานได้ครบเลย
    ผมเรียนราชภัฎปีสุดท้ายแล้ว ปิดเทอมผมจะมาคารวะคุณครูครับ ยังไม่บอกชื่อครับอุบไว้ก่อน เห็นหน้าแล้วอาจารย์จะร้องอ๋อ ขอกราบเท้าด้วยความเคารพ ...........ปจใ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ22 กรกฎาคม 2553 เวลา 02:29

    ขอบคุณมากครับ ทำรายงานได้ง่ายขึ้นเยอะเลย
    6/5

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ23 กันยายน 2553 เวลา 22:14

    สวัสดีค่ะ
    หนูเป็นเด็กนักเรียน ม.6 จากจังหวัดระยอง
    ได้เข้ามาหาข้อมูลจาก google แล้วเจอกับเว็บอาจารย์
    เนื้อหาครบถ้วนมากเลยค่ะ
    แถมเป็นเนื้อหาที่ให้รายละเอียดมากกว่าในบทเรียนของหนูซะอีก
    ขอบคุณมากนะคะ มีประโยชน์ต่อตัวหนูมากเลยค่ะ ^^

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ6 ธันวาคม 2553 เวลา 20:51

    ขอบคุณค่ะ ข้อมูลละเอียดยิบ พร้อมส่งค่ะ หามานาน ^^

    ตอบลบ
  9. สภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งอนาคตเกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นสำคัญ ความสำคัญของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือเพื่อแสวงหา การบรรลุถึงเป้าหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ทั้งในระดับองค์กรจนถึงระดับปัจเจกบุคคล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลเป็นอย่างไรสะท้อนประชาชนเจ้าของประเทศ หากจะให้รัฐมีสัมพันธ์ต่อกันที่ดีกว่านี้ ต้องแก้ไขที่ตัวประชาชนก่อน
    http://www.chanchaivision.com/2015/01/Why-Study-IR-150104.html

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น