การยกพลขึ้นบกในวันดี เดย์ (D-Day)
การยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร ที่หาดนอร์มังดี ของฝรั่งเศสในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 หรือที่เรียกว่าวัน ดี เดย์ จะเห็นเมืองแชร์บูรกก์ (Cherbourg) อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ ถัดมาคือหาดยูท่าห์ (Utah) โอมาฮ่า (Omaha) โกลด์ (Gold) จูโน (Juno) และซอร์ด (Sword) สีแดงคือกำลังของฝ่ายเยอรมัน จะเห็นกำลังของกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองคานส์ (Caen) ถัดมาทางขวา จะเห็น กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 12 ฮิตเลอร์จูเกน (12th SS. Panzer Division Hitler Jugend) ทางขวาล่างของแผนที่จะเห็นกองทัพ บี ของจอมพล เออร์วิน รอมเมล ผู้รับผิดชอบกำแพงแอตแลนติค ต่อต้านการยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร
1. เหตุการณ์การยกพลขึ้นบกในวันดี เดย์ (D-Day)
เหตุการณ์ที่กองกำลังพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี (Normandy) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) มีความเป็นมา ดังนี้
1.1 ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมนีบุกเข้ายึดครองดินแดนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปได้จำนวนมาก จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 จึงยึดกรุงปารีสของฝรั่งเศสได้เท่ากับว่าทวีปยุโรปเกือบทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของกองทัพเยอรมนี
1.2 กองทหารพันธมิตรได้ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อเผด็จศึกกองทัพนาซี และปลดปล่อยยุโรปจากการยึดครองของเยอรมนี โดยใช้แผนการรบที่สำคัญ คือ การยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่หาดนอร์มังดีของฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ซึ่งเรียกว่า “วันดี-เดย์” (D-Day)
2. ความสำคัญของวันดี-เดย์ (D-Day)
เหตุการณ์ที่กองกำลังของฝ่ายพันธมิตนยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ มีความสำคัญมำฝห่เกิดกสนเปลี่ยนแปลงต่อโลก ดังนี้
2.1 ฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ ถือว่าเป็นชัยชนะในการรบทางทะเลครั้งสำคัญที่สุด เพื่อปลดปล่อยยุโรปจากการยึดครองของเยอรมนี เป็นการยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งความสำเร็จเกิดจากฝ่ายพันธมิตรได้เตรียมวางแผนการรบเป็นอย่างดี
2.2 แผนปฏิบัติการรบใช้ยุทธวิธีแบบผสม เรียกว่า “ปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก” หรือปฏิบัติการสามทาง คือ เป็นการรบทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ผสมผสานกัน โดยใช้ทหารกว่า 150,000 คน เรือรบ 1,200 ลำ และเครื่องบินรบกว่า 9,000 ลำ
2.3 ชัยชนะในเหตุการณ์วันดี-เดย์ เป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเป็นจุดเริ่มต้นหรือจุดพลิกผันที่ทำให้ฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ จึงถือว่าเป็นการยุทธ์เพื่อเสรีภาพ (Battle of Freedom) ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเวลาอีก 1 ปี ต่อมา
การยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร ที่หาดนอร์มังดี ของฝรั่งเศสในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 หรือที่เรียกว่าวัน ดี เดย์ จะเห็นเมืองแชร์บูรกก์ (Cherbourg) อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ ถัดมาคือหาดยูท่าห์ (Utah) โอมาฮ่า (Omaha) โกลด์ (Gold) จูโน (Juno) และซอร์ด (Sword) สีแดงคือกำลังของฝ่ายเยอรมัน จะเห็นกำลังของกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองคานส์ (Caen) ถัดมาทางขวา จะเห็น กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 12 ฮิตเลอร์จูเกน (12th SS. Panzer Division Hitler Jugend) ทางขวาล่างของแผนที่จะเห็นกองทัพ บี ของจอมพล เออร์วิน รอมเมล ผู้รับผิดชอบกำแพงแอตแลนติค ต่อต้านการยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร
1. เหตุการณ์การยกพลขึ้นบกในวันดี เดย์ (D-Day)
เหตุการณ์ที่กองกำลังพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี (Normandy) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) มีความเป็นมา ดังนี้
1.1 ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมนีบุกเข้ายึดครองดินแดนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปได้จำนวนมาก จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 จึงยึดกรุงปารีสของฝรั่งเศสได้เท่ากับว่าทวีปยุโรปเกือบทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของกองทัพเยอรมนี
1.2 กองทหารพันธมิตรได้ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อเผด็จศึกกองทัพนาซี และปลดปล่อยยุโรปจากการยึดครองของเยอรมนี โดยใช้แผนการรบที่สำคัญ คือ การยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่หาดนอร์มังดีของฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ซึ่งเรียกว่า “วันดี-เดย์” (D-Day)
2. ความสำคัญของวันดี-เดย์ (D-Day)
เหตุการณ์ที่กองกำลังของฝ่ายพันธมิตนยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ มีความสำคัญมำฝห่เกิดกสนเปลี่ยนแปลงต่อโลก ดังนี้
2.1 ฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ ถือว่าเป็นชัยชนะในการรบทางทะเลครั้งสำคัญที่สุด เพื่อปลดปล่อยยุโรปจากการยึดครองของเยอรมนี เป็นการยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งความสำเร็จเกิดจากฝ่ายพันธมิตรได้เตรียมวางแผนการรบเป็นอย่างดี
2.2 แผนปฏิบัติการรบใช้ยุทธวิธีแบบผสม เรียกว่า “ปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก” หรือปฏิบัติการสามทาง คือ เป็นการรบทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ผสมผสานกัน โดยใช้ทหารกว่า 150,000 คน เรือรบ 1,200 ลำ และเครื่องบินรบกว่า 9,000 ลำ
2.3 ชัยชนะในเหตุการณ์วันดี-เดย์ เป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเป็นจุดเริ่มต้นหรือจุดพลิกผันที่ทำให้ฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ จึงถือว่าเป็นการยุทธ์เพื่อเสรีภาพ (Battle of Freedom) ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเวลาอีก 1 ปี ต่อมา
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http.//th.wikipedia.org.wiki
(วิทยา ปานะบุตร. 2550 : 121-122)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น