การสะสมและการลดอาวุธนิวเคลียร์
1. ความเป็นมาของการสะสมอาวุธนิวเคลียร์
1.1 การทดลง พัฒนา สะสม และครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของชาติมหาอำนาจในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อมนุษยชาติ เพราะทำให้โลกเกิดภาวะความตึงเครียด สหประชาชาติจึงต้องการให้ชาติมหาอำนาจร่วมมือกันลดอาวุธร้ายดังกล่าว
1.2 จุดเริ่มต้นของการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่ประสบความสำเร็จในการทดลองและพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ โดยนำมาใช้เป็นครั้งแรกในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย มีการปฏิบัติการ 2 ครั้ง ดังนี้
(1) ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม
ค.ศ. 1945 มีผู้เสียชีวิตในทันที 80,000 คน
(2) ระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่สองทิ้งที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 มีผู้เสียชีวิตในทันทีประมาณ 74,000 คน
รัสเซียอาจยอมลดอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐ เนื่องจากปัญหา ศก. 26 ก.ค. - รองประธานาธิบดีสหรัฐระบุ รัสเซียอาจยอมทำข้อตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐ เนื่องจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ
รองประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอล์ สตรีทเจอร์นัล ว่าจำนวนประชากรรัสเซีย-ลดลง ทำให้ภาวะเศรษฐกิจง่อนแง่น และภาคการธนาคารไม่น่าจะอยู่ได้เกิน 15 ปี และภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากจะทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องหาทางลดหัวรบนิวเคลียร์ ขณะเดียวกันคณะผู้นำรัสเซียปัจจุบันไม่ใช่นักอุดมการณ์สุดขั้วที่ยึดถือในสิ่งที่ไม่มีใครเชื่อตาม แต่ค่อนข้างเป็นนักปฏิบัตินิยมมากกว่า อย่างไรก็ดี การที่มหาอำนาจอย่างอดีตสหภาพโซเวียตจะสูญเสียความเป็นจักรวรรดิไม่ใช่เรื่องง่าย สหรัฐจึงต้องระมัดระวังไม่ล้ำเส้นมากเกินไปในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย
ด้านสำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์อ้างคำกล่าวของที่ปรึกษาประธานาธิบดีรัสเซีย ว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายไบเดน จึงแสดงทัศนะดังกล่าวต่อความสัมพันธ์สหรัฐ-รัสเซีย. (-สำนักข่าวไทย)
กำลังรบนิวเคลียร์ของโลกปัจจุบันโลกมีหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 31,000 นัด ที่ยังคงบรรจุประจำการอยู่ใน 8 ประเทศ ไม่รวมเกาหลีเหนือ ได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อินเดีย ปากีสถาน และอิสราเอล โดยส่วนหนึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในคลังแสง และอีกส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายวางกำลังไว้ ณ ที่ตั้งหน่วยทหารที่เป็นหน่วยยิงประมาณ 13,000 นัด ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในสภาพพร้อมรบเต็มที่ High Alert ประมาณ 4,600 นัด พร้อมใช้งานในไม่กี่นาทีตลอดเวลา หัวรบนิวเคลียร์เหล่านี้มีอำนาจการทำลายคิดเป็นน้ำหนักระเบิด TNT (Trinitrotoluene : C6H2(NO2)3CH3) ประมาณ 5,000 Megaton คือประมาณ 20,000 เท่าของระเบิดนิวเคลียร์ที่ใช้ที่ฮิโรชิมา ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
หมายเหตุ:- อ้างอิงข้อมูลของ Natural Resources Defense Council ของสหรัฐฯ
สหราชอาณาจักร กำลังรบนิวเคลียร์ของสหราชอาณาจักร หรืออังกฤษ มีแต่เพียงอาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำ Trident II D5 จำนวน 16 ลำ รวม 48 ฐานยิง และถือครองหัวรบนิวเคลียร์อยู่ 185 นัด ๆ ละ 100 Kiloton คิดเป็นน้ำหนักระเบิดรวม 18.5 Megaton
จีน กำลังรบนิวเคลียร์ของจีน ประกอบด้วย ขีปนาวุธที่ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีป (ICBMs) อาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์ (SLBMs) และเครื่องบินทิ้งระเบิด (Bombers) รวมทั้งสิ้น 275 ฐานยิง และคาดว่าถือครองหัวรบนิวเคลียร์อยู่ประมาณ 225 นัด จีน เป็นประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ ที่มีขีดความสามารถที่จะโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Attack) ได้ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย อาจเว้นก็แต่ทวีปอเมริกาใต้ เท่านั้น ด้วยขีปนาวุธ CSS-4 ระยะยิงสูงสุด 13,000 กิโลเมตร และขีปนาวุธ DF-31 ระยะยิงสูงสุด 8,000 กิโลเมตร
ฝรั่งเศส กำลังรบนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ประกอบด้วย อาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์ SLBMs และเครื่องบินทิ้งระเบิด Bombers รวมทั้งสิ้น 133 ฐานยิง และถือครองหัวรบนิวเคลียร์ทั้งสิ้น 449 นัด
สหรัฐฯ กำลังรบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ขีปนาวุธที่ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีป ICBMs , อาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์ SLBMs และเครื่องบินทิ้งระเบิด Bombers รวมทั้งสิ้น 1,074 ฐานยิง ถือครองหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 5,170 นัด และรวมอำนาจการทำลายที่คิดเป็นน้ำหนักระเบิด TNT มากกว่า 1,560 Megaton
สหรัฐฯ เป็นชาติมหาอำนาจที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพสูงที่สุดในโลก มีระบบซัดส่ง เช่น ระบบอาวุธปล่อย ขีปนาวุธ อากาศยานทิ้งระเบิดระยะไกล หรือ ระบบทำการยิงจากใต้น้ำ ซึ่งสามารถนำพาหัวรบนิวเคลียร์ไปสู่เป้าหมายได้ทุกแห่งหนบนโลก ด้วยเทคโนโลยีที่สูงกว่า และไม่มีที่ใดในโลกนี้ที่หัวรบนิวเคลียร์สหรัฐฯ ไปไม่ถึง
สหรัฐฯ แสดงเจตจำนงมาโดยตลอด ที่จะถือครองอาวุธนิวเคลียร์ไว้ เพื่อเผชิญหน้ากับความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติในระดับสูงสุด ที่กระทบต่อความอยู่รอดของชาติ (Survival Interest) กับใช้เพื่อการป้องปรามทางยุทธศาสตร์
รัสเซีย กำลังรบนิวเคลียร์ของรัสเซีย ประกอบด้วย ขีปนาวุธที่ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีป ICBMs , อาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์ SLBMs และเครื่องบินทิ้งระเบิด Bombers รวมทั้งสิ้น 1,174 ฐานยิง ถือครองหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 5,972 นัด และรวมอำนาจการทำลายที่คิดเป็นน้ำหนักระเบิด TNT มากกว่า 2,800 Megaton
รัสเซีย เป็นประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพเป็นรองก็แต่เพียงสหรัฐฯ มีขีดความสามารถที่จะโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Attack) ได้ครอบคลุมทั่วโลก ด้วยขีปนาวุธที่ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีป (ICBMs) อาวุธปล่อยจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์ (SLBMs) และเครื่องบินทิ้งระเบิด (Bombers) โดยมีจำนวนฐานยิง และจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ มากกว่าสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิบัติการนิวเคลียร์ (Nuclear Operations) ต่อสหรัฐฯ จะใช้เส้นทางผ่านขั้วโลกเหนือเป็นหลัก กับการใช้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ เล็ดลอดเข้าไปจ่อยิง เพื่อให้มีเวลาการป้องกันเหลือน้อยที่สุด เป็นที่คาดกันว่าหัวรบนิวเคลียร์ของรัสเซีย จะสามารถฝ่าข่ายการป้องกันของสหรัฐฯ ไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ 1/3 ของสหรัฐฯ ถูกทำลายสิ้น ดังนั้น กำลังรบนิวเคลียร์ของรัสเซีย จึงถือเป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ต่อสหรัฐฯ
อิสรา เอลอิสราเอล มิได้ประกาศตนว่า เป็นชาติที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ หากแต่บางแหล่งข่าวอ้างว่า อิสราเอล อาจถือครองหัวรบนิวเคลียร์ที่มีอำนาจการทำลายต่ำ (ประมาณ 1 กิโลตัน) อยู่ถึง 200 นัด แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าสังเกตนิวเคลียร์จะยังไม่เคยตรวจพบการทดลอง หรือการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอลแต่อย่างไรก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริง อิสราเอล สามารถเข้าถึง รายละเอียดข้อมูลนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ และฝรั่งเศส ได้
นอกจากนั้น อิสราเอล ยังถือครองขีปนาวุธ JERICHO I ระยะยิง 660 กิโลเมตร และ JERICHO II ระยะยิง 1,500 กิโลเมตรที่สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ รวมทั้ง จรวด SHAVIT ที่ใช้ในการปล่อยดาวเทียมของอิสราเอล ก็สามารถดัดแปรเพื่อนำส่งหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีป ระยะยิง 7,800 กิโลเมตรได้เช่นกัน ทำให้อิสราเอล กลายเป็นชาติที่มีความพร้อมอย่างยิ่งในการถือครองอาวุธนิวเคลียร์
อินเดีย กำลังรบนิวเคลียร์ของอินเดีย ประกอบด้วยขีปนาวุธ ปริวิ (PRITHVI) SS-250 ระยะยิง 200 กม. และขีปนาวุธ อัคนี (AGNI) ระยะยิง 1,500-2,000 กม.ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ และเครื่องบินขับไล่โจมตี SU-30MK ที่ใช้ในการปฏิบัติการนิวเคลียร์ โดยถือครองหัวรบนิวเคลียร์อยู่ประมาณ 85 นัด ทั้งนี้เชื่อว่าอินเดียอยู่ระหว่างการพัฒนาเรือดำน้ำที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนิวเคลียร์ได้อีกด้วย
อินเดีย เป็นประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ ที่มีขีดความสามารถที่จะโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Attack) ได้ครอบคลุม จีน ปากีสถาน อิหร่าน คาซัคสถาน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน ตลอดจน ยังมีการประเมิว่า อินเดีย มีขีดความสามารถที่จะโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง ด้วยขีปนาวุธ AGNI ที่มีระยะยิงสูงสุด 2,000 กิโลเมตร
ปากีสถาน กำลังรบนิวเคลียร์ของปากีสถาน ประกอบไปด้วยขีปนาวุธที่นำเข้าจากจีน ประมาณ 30 นัด รวมทั้งขีปนาวุธ HALF-3 ระยะยิง 600 กม.และขีปนาวุธ GHAURI ระยะยิง 600 กม.ที่พัฒนาผลิตขึ้นใช้เอง จำนวนหนึ่ง โดยคาดว่าถือครองหัวรบนิวเคลียร์อยู่ประมาณ 25 นัด
ปากีสถาน เป็นประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ ที่มีขีดความสามารถที่จะโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Attack) ได้ครอบคลุม อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย เยเมน โอมาน คูเวต คาซัคสถาน และภาคตะวันตกของจีน ตลอดจน มีการประเมินว่าปากีสถาน มีขีดความสามารถที่จะโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับอินเดีย ด้วยขีปนาวุธ CHAHEEN II ที่มีระยะยิงสูงสุด 2,000 กิโลเมตร
เกาหลีเหนือ กำลังรบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ จากข้อมูลข่าวสารการข่าวกรอง ยังไม่อาจยืนยันได้แน่นอนว่ามีศักยภาพในการปฏิบัติการนิวเคลียร์จริงหรือไม่ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าสังเกตนิวเคลียร์ ตรวจพบการทดสอบนิวเคลียร์ เมื่อปี พ.ศ.2549 และเกาหลีเหนือ อ้างว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบ อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือ มีศักยภาพในระบบซัดส่งที่เป็นขีปนาวุธหลายแบบ เช่น Taepo Dong II ซึ่งมีระยะยิงไกลถึง 6,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีผู้เชื่อว่า หากเกาหลีเหนือถือครองหัวรบนิวเคลียร์ไว้จริง ก็ไม่น่าเกิน 10 นัด และอำนาจการทำลายที่คิดเป็นน้ำหนักระเบิด TNT ของแต่ละนัดน่าจะน้อยกว่า 1 กิโลตัน ใกล้เคียงกับหัวรบนิวเคลียร์ที่เคยใช้โจมตีญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
เกาหลีเหนือ เป็นประเทศถือครองระบบซัดส่งที่เป็นขีปนาวุธ และอาจถือครองหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ ๑๐ นัด อำนาจการทำลายนัดละประมาณ ๑ กิโลตัน ขีดความสามารถของระบบซัดส่งที่เป็นขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ สามารถโจมตีเป้าหมายยุทธศาสตร์ครอบคลุม ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนสามารถโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ได้ทุกเป้าหมาย
อิหร่าน เป็นประเทศที่ถือครองระบบซัดส่งที่เป็นขีปนาวุธ แม้ยังไม่มีหัวรบนิวเคลียร์ แต่ความมุ่งมั่นในโครงการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียม (Uranium Enrichment) อาจทำให้อิหร่าน สามารถเตรียมสารยูเรเนียมเข้มข้น เพียงพอที่จะผลิตหัวรบนิวเคลียร์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ขีดความสามารถของระบบซัดส่งที่เป็นขีปนาวุธที่อิหร่านถือครอง เช่น Taepo Dong II ระยะยิง 6,000 กิโลเมตร สามารถโจมตีเป้าหมายยุทธศาสตร์ครอบคลุม ทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา รวมทั้ง ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ทุกเป้าหมายในพื้นที่เหล่านั้น
ข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
1. จากการที่ประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ รวมถึงอิหร่านได้มีการพัฒนาขีปนาวุธของตนอย่างต่อเนื่อง นับเป็นภัยอันตรายต่อสันติสุขของโลกอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ทำให้สหรัฐฯ ต้องเร่งพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธแห่งชาติต่อไป โดยโครงการป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ได้ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 92,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธที่ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก แต่หากสหรัฐฯ ชะลอการพัฒนาระบบดังกล่าว ก็อาจเป็นเงื่อนไขให้ประเทศที่มีขีปนาวุธข้ามทวีปอยู่แล้ว หรือกำลังพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน สามารถดำเนินการปรับปรุงขีปนาวุธของตน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจนสามารถเอาชนะข่ายการป้องกันขีปนาวุธแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้
2. การแข่งขันการพัฒนาอาวุธฯ ของแต่ละฝ่าย ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาคโดยรวม ทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เกิดการรวมขั้วของจีน รัสเซียและเกาหลีเหนืออย่างแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น สำหรับผลกระทบต่อไทยยังอยู่นอกเหนือวิสัยที่ไทยจะดำเนินการใด ๆ แม้ไทยจะมีความเป็นกลาง และมีความสัมพันธ์อันดีกับทุกฝ่าย แต่การอยู่ในรัศมีทำการของขีปนาวุธข้ามทวีปทั้งจากเกาหลีเหนือ และจีน ย่อมส่งผลกระทบในแง่จิตวิทยา และความไม่ปลอดภัยต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไทยสามารถกระทำได้ คือ การแสดงออก และเรียกร้องให้เกิดการสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน เพื่อไม่ให้ปัญหาขัดแย้งขยายตัวเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคมากยิ่งขึ้น
2. การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของชาติต่าง ๆ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มีประเทศต่าง ๆ ทดลองและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จนประสบผลสำเร็จ ดังนี้
2.1 สหภาพโซเวียตในยุคของสงครามเย็น สหภาพโซเวียตหวาดระแวงในมหันตภัยของอาวุธร้ายนิวเคลียร์ที่สหรัฐอเมริกาครอบครองอยู่ จึงขยายอิทธพลเข้าไปยุโรปตะวันออกเพื่อสร้างประเทศบริวารเครือข่าย มีการพัฒนาด้านการทหารและอาวุธนิวเคลียร์จนประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1949 นับตั้งแต่นั้นมาชาติมหาอำนาจทั้งสองต่างแข่งขันกันสะสมอาวุธนิวเคลียร์อย่างจริงจัง
2.2 การแข่งขันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ทำให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคของสงครามเย็น ในสมัยนั้นมีชาติต่าง ๆ ทดลอง พัฒนา และมีระเบิดนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองเช่นเดียวกัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และอินเดีย เป็นต้น
2.3 อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ คือ อาวุธนิวเคลียร์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำลาย และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารของฝ่ายศัตรู อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
(1) เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล
(2) ขีปนาวุธข้ามทวีป
(3) ขีปนาวุธที่ยิงจากเรือดำน้ำ
3. การเจรจาอาวุธนิวเคลียร์
3.1 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 – 1991 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างตระหนักถึงผลร้ายของการแข่งขันกันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงไว้เป็นจำนวนมาก เพราะถ้ามีมาตรการรักษาความปลอดภัยดีพออาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันและทำให้เกิดสงครามล้างโลกได้ ทั้งสองฝ่ายจึงหันหน้าเจรจากันและประสบผลสำเร็จ ดังนี้
(1) สนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 1 (Salt -I) ค.ศ. 1972
(2) สนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 (Salt -II) ค.ศ. 1979
(3) สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง ค.ศ. 1987
(4) สนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (START) ค.ศ. 1991
3.2 สนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (START) ค.ศ. 1991 เป็นฉบับล่าสุด มีสาระสำคัญคือ ทั้งสองประเทศจะลดจำนวนขีปนาวุธเหลือเพียงไม่เกินฝ่ายละ 9,000 ลูก และจำกัดหัวรบนิวเคลียร์ให้เหลือเพียงฝ่ายละ 4,900 หัวรบเท่านั้น
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http.//th.wikipedia.org.wiki
( วิทยา ปานะบุตร. 2550 : 122-123)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น