การล่มสลายของสหภาพโซเวียต



การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ. 1985 ถึง
ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น็อต ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุดการขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟ
มิคาอิล กอร์บาชอฟ แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี 1964-1982 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในสมัยแรกของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน
ในเวลานั้นเอง มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
นโยบายเปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์
มิคาอิล กอร์บาชอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคอนสแตนติน เคอร์เชนโก กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลานอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์ การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง)ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์และความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกได้ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ
1. สาเหตุการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ.1991 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งของประวัติศาสตร์โลกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรุปสาเหตุได้ดังนี้
1.1 การดำเนินนโยบายปฏิรูปประเทศของประธานนาธิบดีกอร์บาชอฟ (Gorbachev) ที่เรียกว่า “นโยบายกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา” (Glasnost-Perestroika) ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น รัฐบาลสหภาพโซเวียตจึงไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหวทางการเมืองของสาธารณรัฐต่าง ๆ ในสหภาพโซเวียตที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ
1.2 ความตื่นเต้นของลัทธิชาตินิยมและความพยายามแยกตัวเป็นอิสระชองสาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคมและวัฒนาธรรม ทั้งนี้เป็นผลมาจากนโยบายการปฏิรูปประเทศที่เน้นความเป็นประชาธิปไดยของกอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต
ในปี ค.ศ. 1990 บอรีส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต จึงเป็นแบบอย่างให้สาธารณรัฐอื่น ๆ เคลื่อนไหวแยกตัวเป็นอิสระตามมา
1.3 ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 เป็นต้นมา มีการปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เช่น มีการเลือกตั้งแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศโปแลนด์ ซึ่งพรรคกรรมกร (Solidarity) ได้รับชัยชนะเหนือพรรคคอมมิวนิสต์
นอกจากนั้นพรรคมคอมมิวนิวส์ในประเทศโรมาเนียนและฮังการี ต้องถูกยุบหรือยุติบทบาททางการเมืองลงไป และเกิดการรวมเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศเดียวกัน แสดงถึงความเสื่อมถอยในอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก
1.4 ปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของกอร์บาชอฟ ซึ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นแนวทางทุนนิยม แต่ก็ไม่สาสามารถแก้ไขปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เช่น ผลผลิตตกต่ำ การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอแก่ความต้องการภายในประเทศ ทำให้สินค้าขาดแคลนและมีราคาสูง เกิดปัญหาเงินเฟ้อ และการขาดดุลการค้า

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http.//th.wikipedia.org.wiki
(วิทยา ปานะบุตร. 2550 : 125-127)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น