วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544




1. เครื่องบินโดยสารโบอิง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ 2 ( World Trade Center 2 ) ซึ่งเป็นตึกคู่แฝดกับตึกแรกในมาหนครนิวยอร์ก
1.1 เครื่องบินโบอิง 757 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน( Pentagon ) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี ซึ่งเป็นที่ทำการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ทั้ง 2 อาคาร ซึ่งถูกไฟไหม้ได้พังถล่มลงมา มีเจ้าหน้าที่กู้ภัย พนักงานดับเพลิง และผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ประมาณ 2,500 คน รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการฉุกเฉิน และกองทัพสหรัฐฯ ประกาศเตรียมพร้อมรบ
แผนที่เส้นทางการบินของเครื่องบินที่ถูกปล้น
วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

เหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 เป็นเหตุการณ์วินาศกรรมของการปล้นเครื่องบินในสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องบินพาณิชย์ ได้ชนเข้ากับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และ เพนตากอน ลำดับเหตุการณ์วินาศกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น ณ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เพียงแห่งเดียว อาคารเพนตากอน ได้ถูกโจมตีด้วย โดยมีการใช้เครื่องบินถึง 3 ลำในการก่อการ ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนี้ได้เข้ายึดครองเพื่อบังคับให้พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญ และยังมีเครื่องบินอีกหนึ่งลำที่ถูกจี้ด้วยเหมือนกันแต่ไม่สามารถชนตึกได้ ทั้งนี้คาดว่าการขัดขืนจากลูกเรือและผู้โดยสารทำให้เครื่องบินลำดังกล่าวตกลงในเขตชนบทที่ซอมเมอร์เซ็ต เครื่องบินที่ถูกจี้ทั้ง 4 ลำเป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิง 767-200ER จำนวน 2 ลำ (จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และจากสายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิง 757-200 (จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำเป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้นจึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น
ลำดับเหตุการณ์ตามเวลาประเทศไทยในเหตุการณ์พอจะสรุปได้ดังนี้
11 กันยายน
19:45 น. เครื่องบินโดยสารของสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 จากบอสตันเข้าชนตึกเหนือ (ตึก 1 เป็นตึกที่มีเสาอากาศเห็นได้ชัด) ของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แล้วฉีกตัวตึกเป็นช่องพร้อมทั้งเกิดไฟไหม้
20:03 น. เครื่องบินโดยสารของสายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 จากบอสตันเช่นกัน พุ่งเข้าชนตึกใต้ (ตึก 2) ของตึกเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ และระเบิดรุนแรง
20:43 น. เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ 77 ของสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ ชนอาคารเพนตากอน เกิดควันไฟพวยพุ่ง มีการอพยพคนในทันที
20:45 น. มีการอพยพคนที่ทำเนียบขาว
21:05 น. ตึกใต้ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มยุบลง ท้องถนนปกคลุมด้วยกลุ่มควัน
21:10 น. บางส่วนของอาคารเพนตากอนถล่ม ขณะเดียวกันก็มีรายงานการตกของเครื่องบินโดยสารของ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ที่เขตชนบทของซอมเมอร์เซ็ต รัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพิตส์เบิร์ก
21:13 น. อาคารที่ทำการของสหประชาชาติเริ่มขนย้ายผู้คน โดยเป็นคนของสำนักงานใหญ่จำนวน 4,700 คน และจากยูนิเซฟกับฝ่ายอื่นของสหประชาชาติอีก 7,000 คน
21:28 น. ตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถล่มยุบตัวลงคล้ายกับถูกตอกด้วยเสาเข็มจากด้านบน เกิดฝุ่นอันหนาทึบ และเศษหักพังกระจายไปทั่ว
21:45 น. อาคารที่ทำการของรัฐทุกตึกในวอชิงตันอพยพคนทั้งหมด
21:48 น. ตำรวจยืนยันมีเครื่องบินตกที่ซอมเมอร์เซ็ต
21:53 น. ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งขั้นต้นของนิวยอร์ก
22:18 น. สายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกจี้ โดยเที่ยวบินที่ 11 เป็นเครื่องโบอิ้ง 767-200ER มีลูกเรือ 11 คน และผู้โดยสาร 81 คน ซึ่งกำลังเดินทางไปยังลอสแอนเจลิส ส่วนเที่ยวบินที่ 77 เป็นเครื่อง 757-200 กำลังเดินทางไปลอสแอนเจลิส โดยมีผู้โดยสาร 58 คน ลูกเรือ 6 คน เครื่อง 767-200ER เป็นลำที่ชนตึกเหนือของเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ และเครื่อง 757-200 ชนเพนตากอน
22:26 น. ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกจี้ โดยเที่ยวบินที่ 93 ออกจากนิวอาร์ก รัฐเดลาแวร์ ไปยังซานฟรานซิสโก และตกที่เพนซิลวาเนีย
22:59 น. ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินเที่ยวบินที่ 175 ที่กำลังเดินทางไปลอสแอนเจลิส มีผู้โดยสาร 56 คน ลูกเรือ 9 คน เป็นลำที่ชนตึกใต้ของเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์
23:04 น. สนามบินลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบิน 3 ลำ อพยพคนทั้งหมด
23:15 น. สนามบินซานฟรานซิสโกซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบินเที่ยวบินที่ 93 อพยพคนทั้งหมด
12 กันยายน
03:10 น. ตึก 7 ซึ่งมี 47 ชั้นของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เกิดไฟไหม้
04:20 น. ตึก 7 ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งไม่มีคนอยู่แล้วถล่ม การถล่มเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากตึก 1 และ 2 (ซึ่งอยู่คนละฝั่งถนน) ถล่มมาก่อนหน้านี้ ตึกรอบๆ บริเวณก็มีไฟไหม้ด้วย
04:30 น. เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรายงานว่าเครื่องบินที่ตกในเพนซิลวาเนียอาจจะมีเป้าหมายในการชน แคมป์ เดวิด หรือ ทำเนียบขาว หรือ อาคารรัฐสภา อาคารใดอาคารหนึ่ง
06:45 น. ตำรวจนิวยอร์กรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่สูญหาย 78 นาย และเชื่อว่าพนักงานดับเพลิงประมาณ 200 นายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
08:22 น. ไฟไหม้ที่เพนตากอนยังควบคุมไม่ได้ แต่สามารถจำกัดเขตการลุกลามได้แล้ว
ในขณะที่เกิดเหตุหายนะอยู่นี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เดินทางจากฟลอริดากลับสู่วอชิงตัน และได้มีการออกแถลงการณ์ในเหตุการณ์ มีการขอให้ประชาชนร่วมกันสวดมนต์ให้กับผู้เคราะห์ร้าย รวมทั้งยังประกาศว่า "ผู้ที่กระทำการครั้งนี้จะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำ"
ต่อมามีรายงานว่าตึกอื่นๆ ในบริเวณนั้นก็ได้พังทลายลงทั้งหมด (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วยตึก 7 หลัง) อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ตึก 5 ยังคงตั้งอยู่แต่ก็เสียหายยับเยินเช่นกัน สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบศพแล้วกว่า 200 ศพ และยังสูญหายอีกประมาณ 6,000 คน (ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544)

2. สาเหตุของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์การก่อการร้ายครั้งนี้ คือ โอซามะ บิน ลาเดน
( Osama bin Laden ) หัวหน้าขบวนการอัล เคดา หรืออัล กออิดะห์ ( Al Qa ‘ida ) ซึ่งเป็น
องค์การก่อการร้ายที่มีเครือข่ายทั่วโลก และมุ่งต่อต้านสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตกโดยตรง สาเหตุการก่อการร้ายครั้งนี้ คือ การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่ขัดขวางและไม่เป็นมิตรต่อโลกอาหรับ 2 ประการ คือ
2.1 การขยายอิทธิพลเข้าแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลาง เพื่อมุ่งผลประโยชน์ใน
ทรัพยากรน้ำมัน ซึ่งกลุ่มทุนจากบริษัทอุตสาหกรรมน้ำมันของชาวอเมริกันเข้าไปลงทุนจำนวนมหาศาล
2.2 การสนับสนุนรัฐบาลอิสราเอลในกรณีความขัดแย้งกับชาติอาหรับในปัญหาดิน
แดนปาเลสไตน์ ทำให้กลุ่มประเทศอาหรับและขบวนการก่อการร้ายไม่พอใจ จึงแสดงปฏิกิริยาต่อต้านสหรัฐอเมริกา
3. ผลกระทบของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001


เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 อยู่ในช่วงสมัยของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิบยู บุช ( Greorge W. Bush )มีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาและโลกดังนี้
1.1 ผลกระทบต่อสหรัฐอมริกา
(1) ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตประมาณ
2,500 คนและความเสียหายในทรัพย์สินประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
(2) เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง
(3) ขวัญและกำลังใจชาวอเมริกันตกต่ำ ความเชื่อมั่นในความยิ่งใหญ่ของชนชาติอเมริกันลดถอยลง แต่ทำให้เกิดพลังชาตินิยมในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
(4) ประชาชนให้การสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐ ฯ ในการรักษาความมั่นคงภายในและความมั่นคงของชาติมากขึ้น เช่น ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจมากขึ้นการป้องกันปัญหาการก่อการร้าย ฯลฯ
(5) รัฐบาลสหรัฐ ฯ ใช้เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมดังกล่าว เป็นข้ออ้างเพื่อปราบปรามลัทธิก่อการร้าย โดยได้รับการสนับสนุนในงบประมาณด้านการทหารจากรัฐสภา เช่น ส่งกองทหารเข้าทำสงครามในอัฟกานิสถาน ค.ศ. 2001 และทำสงครามยึดครองอิรัก ค.ศ. 2003 เป็นต้น
1.2 ผลกระทบต่อสังคมโลก
(1) ทำให้ลัทธิก่อการร้ายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง มีการก่อวินาศกรรมเพื่อทำลายผลประโยชน์ชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ในภูมิภาคต่าง ๆ ดังกรณีการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิงในเกาบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2002 โดยขบวนการก่อการร้ายกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ หรือ เจ.ไอ ( J.I. ) มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลียและชาติตะวันตก
(2) ทำให้โลกเกิดความตึงเครียดและหวาดกลัวจากภัยการก่อร้าย ซึ่งนิยมใช้ความรุนแรงทำลายชีวติผู้บริสุทธิ์อย่างโหดร้าย โดยเฉพาะขบวนการอัล เคดา ของโอซามะ บิน ลาเดน ซึ่งมีนโยบายต่อต้านสหรัฐอเมริกา อิสราเอลและชาติพันธมิตร รวมทั้งรัฐบาลประเทศมุสลิมที่นิยมตะวันตก


ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http.//th.wikipedia.org.wiki
( วิทยา ปานะบุตร. 2550 : 132-134)

1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น