สงครามโลกครั้งที่ 1 และสภาวะหลังสงคราม


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิเคราะห์ผลงานของมนุษยชาตืที่นำไปสู่ความร่วมมือและความขัดแย้ง ตลอดจนแนวทางในการประสานผลประโยชน์เพื่อสันติภาพของโลกจุดประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสังเขปได้
2. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์บทบาทและความสำเร็จขององค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้

3. ผู้เรียนสามารถเล่าเหตุการณ์สำคัญๆของสงครามโลกครั้งที่ 1ได้อย่างถูกต้องและปราศจากอคติ

เฉลยสอบก่อนเรียน 15.ง 14.ก 13.ข 12.ค 11.ง 10.ก 9.ข 8.ง 7.ก 6.ค 5.ง 4.ง 3.ก 2.ค 1.ค

สงครามโลกครั้งที่ 1 และสภาวะหลังสงคราม
1. สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-1918) เป็นสงครามครั้งใหญ่ของมนุษย์ชาติเกิดขึ้นในคริสต์ตวรรษที่ 20 สมรภูมิของสงครามส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรป มีผู้คนเสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนรวมไม่ต่ำกว่า 13 ล้านคน โดยสาเหตุของสงครามสรุปได้ ดังนี้
1.1 ลัทธิชาตินิยม (nationalism)
1.2 การแข่งขันแสวงหาอาณานิคม
1.3 ชาติมหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย
1.4 ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลคาน ( Balkan )

2. ลัทธิชาติชนนิยม (nationalism)ช่วงเกิดสงครามโลกครั่งที่ 1 ชาติต่าง ๆ ประสบความสำเร็จในการรวมชนชาติ โดยรวมดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติเดียวกัน และก่อตั้งเป็นประเทศสำเร็จ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และ อิตาลี
2.1 ความสำเร็จในการรวมชนชาติและเกิดประเทศที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในยุโรปทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในหมู่ชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะชาวสลาฟ (siavs) ในดินแดนคาบสมุทรบอลคาน (Balkan) ซึ่งต้องการร่วมตัวจัดตั้งเป็นประเทศเอกราชของตนเช่นเดียวกัน
2.2 ลัทธิชาตินิยมทำให้ชาติต่าง ในยุโรปคิดสร้างเสริมความเข้มแข็งทางทหาร เพื่อความยิ่งใหญ่ของชาติตน เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดกระทบกระทั่งกับชาติอื่นๆ ในเวลาต่อกันมา

3. การแข่งขันแสวงหาอาณานิคม
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาชาติยุโรปต่างแสวงหาอาณานิคมในดินแดนทวีปเอเชียและแอฟริกา เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน สรุปได้ดังนี้
3.1 การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ทำให้ชาติต่างๆ มุ่งแสวงหาอาณาจักรนิคมในดินแดนไกลโพ้น เพื่อนำวัตถุดิบมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมของตน โดยใช้กำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องการ
3.2 การใช้นโยบายการค้าเสรี ที่เน้นการแข่งขัน ทำให้ประเทศในยุโรปมีการแข่งขันกันสูงต่างกีดกันมิให้สินค้าจากชาติคู่แข่งขันมาตีตลาดภายในของตน โดยตั้งกำแพงภาษีตลาดภายในของตน โดยตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าให้สูงจนกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันเช่น เยอรมันกับรัสเซีย เป็นต้น
3.3 ชาติยุโรปที่ประสบความสำร็จในการแสวงหาอาณานิคม ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และสเปน เป็นต้น ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปเอชียและแอฟริกาตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรนิยมดังกล่าว โดยตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20

4. ชาติมหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย
ความขัดแย้งและการแข่งขันในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองดังกล่าว ทำให้ชาติมหาอำนาจรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรของตนมีการแข่งขันสะสมกำลังอาวุธ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับฝ่ายตรงกันข้าม และช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเมื่อความขัดแย้งบานปลายกลายเป็นสงคราม
4.1 กลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธมิตรไตรภาคี ได้แก่ เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี และอิตาลี
4.2 กลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย
5. ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลคาน
คาบสมุทรบอลคาน ซึ่งอยู่ทางตอนไต้ของทวีปยุโรป ประสบปัญหาขาดความมั่นคงทางการเมืองจนกลายเป็นสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 สรุปได้ดังนี้
5.1 ประชาชนหลายเชื้อชาติในดินแดนคาบสมุทรบอลคาน เช่น ชนชาติสลาฟ กรีก และเตอร์ก ต่างตื่นตัวในพลังชาตินิยมมีการเคลื่อนไหวรวมตัวเพื่อจัดตั้งประเทศใหม่ของตน
5.2 อุปสรรคขัดขวางการร่วมชาติของชนชาติต่างๆ ในดินแดนคาบสมุทรบอนคาน คือ
(1) ความแตกแยกในการนับถือศาสนา
(2) ประเทศใหญ่ๆที่มีพรมแดนติดกับมหาสมุทรบอลคาลไม่ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ รัสเซีย อิตาลี และออสเตรีย-ฮังการี ทั้งนี้เพื่อรักษาอิทธิพลของตนในดินแดนเหล่านี้ไว้
5.3 เซอร์เบีย เป็นแคว้นเล็กๆผู้นำชนชาติสลาฟ ต้องการรวบรวมชนเผ่าสลาฟทั้งหมดในดินแดนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก่อตั้งเป็นประเทศเอกราช โดยได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ทั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจแก่ออสเตรีย-ฮังการี เป็นอย่างมาก

6. ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1
6.1 การลอบปรงพระชนม์องค์รัชทายาทของออสเตรีย- ฮังการี ในปี
ค.ศ. 1914 ขณะเสด็จประพาสเมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย ซึ่งรัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีเชื่อว่าเซอร์เบียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
6.2 การเข้าร่วมสงครามของชาติอื่นๆ ทำให้สถานการณ์ขยายวงกว้างกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่1 ดังนี้
(1) รัสเซียสนับสนุนกำลังทหารแก่เซอร์เบีย ทำให้อังกฤษกับฝรั่งเศสต้องเข้าช่วยเหลือรัสเชียตามข้อตกลงที่ทำไว้ในสนธิสัญญาที่ทำไว้
(2) สหรัฐอเมริกาเข้าช่วยอังกฤษและฝรั่งเศษ เพราะเรือสินค้าของตนถูกเยอรมันโจมตีอย่างไร้มนุษย์ธรรม
(3) เยอรมันเข้าช่วยเหลือออสเตรีย-ฮังการี ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาข้างต้น

7. ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
การสู้รบกันในสงครามโลกครั้งที่ 1 ดำเนินมายาวนานถึง 4 ปี (ค.ศ. 1914-1918) โดยสิ้นสุดลงเมื่อเยอรมันนีเป็นฝ่ายปราชัยยอมยุติสงคราม ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีดังนี้
7.1 ด้านสังคม ทหารสองฝ่ายเสียชีวิตประมาณ 13 ล้านคน และพลเรือนอีกประมาณ 1 ล้านคน มีผู้บาดเจ็บ พิการ และไร้ที่อยู่อาศัญรวมทั้งสูญเสียในทรัพย์สินอีกจำนวนมาก
7.2 ด้านการเมือง ชาติมหาอำนาจของยุโรปอ่อนแอและเกิดมหาอำนาจใหม่ขึ้นมาแทนคือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
(1) ฝ่ายที่แพ้สงครามได้แก่ เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี ฐานะที่เคยเป็นจักรวรรดิล่มสลายต้องเสียดินแดนอาณานิคมสูญเสียผลประโยชน์ทางการค้าและถูกลดกำลังทหารและอาวุธ เป็นต้น
(2) ฝ่ายที่ชนะสงครามได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ได้รับความเสียหายบอบช้ำทางเศรษฐกิจ เพราะสมรภูมิรบอยู่ในยุโรป
7.3 ค้านเศรษฐกิจ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากทั้งฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจมีดังนี้
(1) เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง สนามบิน อย่างยับเยิน เพราะทั้ง สองฝ่ายใช้กำลังอาวุธที่มีการทำลายล้างสูงจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมซ่มจำนวนมาก
(2) ทุ่มเทการผลิตอาวุธใหม่ๆ อย่างมหาศาล เช่น เครื่องบิน เรือรบ ปืนใหญ่ ปืนกล ระเบิด เรือดำน้ำ แก๊สพิษ
(3) ฝ่ายแพ้ต้องจ่ายค่าปฎิกรรมสงครามตามสนธิสัญญา

8. องค์การสันนิบาตชาติ
องค์การสันนิบาตชาติ ถือกำเนิดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงมีความเป็นมา วัตถุประสงค์ และบทบาทการดำเนินงาน ดังนี้
8.1 ผู้เริ่มจัดตั้งคือ วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้เสนอหลักการ 14 ข้อ เพื่อใช้เป็นหลักในการเจรจาทำสัญญาสันติภาพต่อผู้นำชาติพันธมิตร
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยเสนอให้มี องค์การสันนิบาต เพื่อทำหน้าที่แก้ไขกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
8.2 ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ สรุปได้ดังนี้
(1) กรณีพิพาทที่สันนิบาตชาติแก้ไขปัญหาได้คือ การแย่งชิงหมู่เกาะโอลันด์ระหว่างฟินแลนด์กับสวีเดน ซึ่งสันนิบาตชาติตัดสินให้ฟินแลนด์มีอำนาจอธิปไตยในหมู่เกาะโอลันด์
(2) กรณีพิพาทที่สันนิบาตชาติประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา โดยไม่อาจระงับการรุกรานได้ และกลายเป็นสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 มี ดังนี้
1. อิตาลีใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟูของกรีก ค.ศ. 1923
2. ญี่ปุ่นรุกรานมณฑลแมนจูเรียของจีน ค. ศ. 1931
3. อิตาลีส่งกองทัพเข้ายึดครองอะบิสซิเนีย (เอธิโอเปีย) ค.ศ. 1935
4. เยอรมันส่งกองทัพเข้าสู่เขตปลอดทหารไรน์แลนด์ในปี ค.ศ. 1936 ชึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ชายส์

9. จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติสันนิบาติชาติไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศและรักษาสันติภาพของโลก มีสาเหตุเกิดจากจุดอ่อนข้อด้อย 2 ประการ ดังนี้
9.1 สหรัฐอเมริกาและชนชาติมหาอำนาจอื่นๆ ไม่เป็นสมาชิก
(1) สหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิก เพราะรัฐสภาไม่อนุมัติโดยไม่ยอมให้สัตยาบันใดๆ
(2) เยอรมัน ญี่ปุ่น และอิตาลี เข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ไม่นานก็ลาออกไป
9.2 ชาติมหาอำนาจฝ่าฝืนไม่ยอมปฎิบัติตามมติขององค์การสันนิบาติชาติ โดยปฎิบัติการรุกรานประเทศอื่นๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์ตามที่ต้องการ เช่น ฝรั่งเศสเข้ายึดครองแคว้นรูห์ซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินของเยอรมัน และอิตาลีเข้ายึดเกาะคอร์ฟูของกรีก ในปี ค. ศ. 1923 เป็นต้น





ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี htpp://th.wikipedia.org.wiki
(วิทยา ปานะบุตร. 2550 : 98-101)

8 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2552 เวลา 09:34

    ใบงานเยอะม๊ากกกก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2552 เวลา 12:41

    ใส่รูปภาพเกี่ยวกับสงครามโลกให้มากๆได้ไหมครับ

    เด็ก ม.ศิษย์จารย์แหละ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 สิงหาคม 2552 เวลา 21:04

    มีภาพ VDO สงครามโลกครั้งที่ 1 ดูด้วย เข้าใจดีมากครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ15 สิงหาคม 2552 เวลา 21:08

    อยากให้อาจารย์ทำเว็บสอนวิชาสาระหน้าที่พลเมืองจัง มันเข้าใจยากครับ เรื่องกฏหมายนะครับ

    ตอบลบ
  5. อยากให้มีรายละเอียดมากกว่านี้

    ตอบลบ
  6. ก็โอนะ อยากให้อาจารย์แจกหนังสือเรียนจัง


    อยากเอาไปอ่านสอบ จะสอบเข้า มหาลัยแล้ว

    และอยากรู้เวลาสอบที่โรงเรียนจะเอาหนังสือที่ไหนอ่านสอบ กลางภาค ปลายภาค กลุ้มอยู่นะ -*- T_T

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ12 กันยายน 2554 เวลา 17:49

    ได้ประโยชน์เอาข้อมูลไปทำรายงาน ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:39

    ทำไมไม่มีชาติมหาอำนาจหลังสงครามโลกครั้ืิงที่สองล่ะ??????????

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น